อธิบาย อัตราส่วนโน้ต ค่าโน้ต และตัวหยุด

เรียนกลองชุดออนไลน์กับ Aong

อธิบาย อัตราส่วนโน้ต ค่าโน้ต และตัวหยุด

 

วีดีโอประกอบครับ

 

 

Screen Shot 2015-02-19 at 16.23.46

 

ในภาพด้านบนได้อธิบายลักษณะของตัวโน้ตแต่ละแบบไว้

โน้ตตัวกลม 1 ตัว มีค่าเท่ากับ
โน้ตตัวขาว             2   ตัว
โน้ตตัวดำ              4   ตัว
โน้ตเขบ็ด 1 ชั้น       8   ตัว
โน้ตเขบ็ด 2 ชั้น     16   ตัว
โน้ตเขบ็ด 3 ชั้น     32   ตัว

ตัวหยุดก็เช่นกัน หากพบตัวหยุดบนกระดาษให้หยุดตามจังหวะของตัวหยุดนั้นๆ

Screen Shot 2015-02-19 at 16.23.52

 

 

โน้ตประจุด คือโน้ตสากลที่มีความยาวเป็น 3/2 เท่าของโน้ตปกติ หรือเรียกได้ว่ามีความยาวมากขึ้นอีกครึ่งหนึ่งของค่าตัวโน้ตเดิม

เขียนโดยกำกับจุดไว้ข้างๆ หัวโน้ต ตัวอย่างเช่น โน้ตตัวกลมเมื่อประจุด whole note. จะมีค่าเท่ากับโน้ตตัวกลมบวกโน้ตตัวขาว whole note+half note
ซึ่งจุดนั้นมีค่าเท่ากับโน้ตตัวขาวซึ่งมีค่าเป็นครึ่งหนึ่งของโน้ตตัวกลม ส่วนเขบ็ตหนึ่งชั้นประจุด eighth note. จะมีค่าเท่ากับโน้ตเขบ็ตหนึ่งชั้นบวกโน้ตเขบ็ตสองชั้น
eighth note+sixteenth note เป็นต้น นอกจากตัวโน้ตแล้ว ตัวหยุดก็สามารถประจุดได้เช่นกันโดยใช้หลักการเดียวกันกับข้างต้น เช่น quarter rest. มีความหมายเหมือนกับ quarter rest+eighth rest เป็นอาทิ

การประจุดอาจกระทำได้มากกว่า 1 จุด โดยแต่ละจุดจะมีค่าเป็นครี่งหนึ่งของจุดก่อนหน้านั้น ตัวอย่างเช่น โน้ตตัวกลมประจุด 3 จุด whole note
จะมีค่าเท่ากับโน้ตตัวกลมบวกโน้ตตัวขาวบวกโน้ตตัวดำและบวกโน้ตเขบ็ตหนึ่งชั้น whole note+half note+quarter note+eighth note ในทำนองเดียวกัน ตัวหยุดก็สามารถประจุดมากกว่า 1 จุดได้เช่นเดียวกัน

ภาพประกอบจากหนังสือ Rock drumming
และเนื้อหาบางส่วนจาก Wikipedia

Aong

 

 

สินค้าElectronic ถูกและดี มีให้เลือกซื้อมากมาย คลิกเลย!!!

ติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Like at >> https://www.facebook.com/letsplaydrums